คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

หลักสูตรใหม่/หลักสูตรปรับปรุง

ต้องเสนอที่ประชุม ดังนี้
   1. ที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ
   2. ที่ประชุมสภาวิชาการ
   3. ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย

วงรอบการปรับปรุงหลักสูตร คือ 5 ปีหลังจากการเปิดการเรียนการสอน แต่สามารถปรับปรุงหลักสูตรก่อนวงรอบได้ โดยนับจากหน้าเล่ม มคอ.2 ว่าเป็นหลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. อะไร

  1. สำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder’s Needs) โดยเขียนแสดงวิธีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือใคร (Who) มีวิธีการสำรวจ เก็บข้อมูล อย่างไร (How) และสรุปข้อมูลว่าแต่ละกลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร (What) เพื่อมากำหนดผลการเรียนรู้ของหลักสูตร Program Learning Outcomes (PLOs)
   2. จัดทำในลักษณะบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) สรุปประเด็น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน วิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละกลุ่มทำอย่างไร การสรุปข้อมูลที่ได้จากแต่ละกลุ่ม การสรุปประเด็นที่เหมือนกันของแต่ละกลุ่มและเชื่อมโยงกับ PLOs และการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร รายวิชา
   3. การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร PLOs ไม่ควรเกิน 10 PLOs

  – หลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. 2565 ใช้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563
   – หลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. 2566 ใช้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566
   – หลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. 2567 ใช้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567

การเขียนคำอธิบายรายวิชา มีดังนี้ ให้เรียงรหัสวิชาจากเลขน้อยไปเลขมาก คำอธิบายภาษาไทยไม่ควรมีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายวรรคตอน ในคำอธิบายภาษาอังกฤษใช้เครื่องหมาย (;) ใช้แบ่งประโยค (,) ใช้แบ่งคำ และ (:) ใช้ยกตัวอย่าง เช่น

   1. หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
      – หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
      – หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ
   2. หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
      – หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
      – หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ

      ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565
      “อาจารย์ประจำ” หมายถึง บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ และตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าในสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นตามที่สภาพสถาบันอุดมศึกษากำหนด หรือบุคคลในองค์กรภายนอกที่มีการตำลงร่วมผลิต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบตามพันธกิจของการอุดมศึกษา และมีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
      “อาจารย์ประจำหลักสูตร” หมายถึง อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิตรง หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นชอบหรืออนุมัติ มีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาดังหล่าว ทั้งนี้ สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหลายหลักสูตรไ้ในเวลาเดียวกัน
      “อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” หมายถึง อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องอยู่ประจำหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา โดยจะเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้น หลักสูตรพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ ให้เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้อีกหนึ่งหลักสูตรในกรณีนี้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถซ้ำได้ไม่ได้เกิน 2 คน และปริญญาโท-เอก ที่มีสาขาวิชาเดียวกันสามารถซ้ำกันได้
      “อาจารย์พิเศษ” หมายถึง ผู้สอนที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ

  1. ใช้แบบฟอร์มผลงานทางวิชาการ (แบบใหม่) ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซด์งานพัฒนาหลักสูตร โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่ภารการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
  2. ผลงานทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์ ก.พ.อ. โดยเขียนรูปแบบ AmericanPsychological Association (APA) พร้อมระบุ (ฐานข้อมูล) ซึ่งเป็นผลงานในรอบ 5 ปีย้อนหลัง
    ปริญญาตรี ผลงาน 1 เรื่อง
    ปริญญาโท ผลงาน 3 เรื่อง โดย 1 เรื่องต้องเป็นงานวิจัย
    ปริญญาเอก ผลงาน 3 เรื่อง ต้องเป็นงานวิจัยทั้ง 3 เรื่อง
    *** Procedding ไม่นับ ****
  3. แต่ละหัวข้อ เรียงผลงานภาษาไทยขึ้นก่อน ต่อด้วยผลงานภาษาอังกฤษ
  4. แต่ละหัวข้อ เรียงจากปี (พ.ศ.2566 –> 2562) หรือ (ค.ศ. 2023 –> 2019)
    กรณี ปีที่ตีพิมพ์ผลงานเป็ปีเดียวกัน ให้เรียงอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งคนที่ 1
  5. เรียงผลงานทางวิชาการตามตารางรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
    กรณี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ให้ระบุเครื่องหมาย * ต่อท้ายชื่ออาจารย์ และ
    ระบุ “หมายเหตุ * หมายถึง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” ท้ายกระดาษ
    กรณี อาจารย์ใหม่ ให้ระบุ “หมายเหตุ อาจารย์ใหม่ (บรรจุเมื่อวันที่/เดือน/ปี)”
    ท้ายกระดาษ
  1.       คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา อ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับ…. พ.ศ. 2565 กรณี มีความแตกต่างจากข้อบังคับฯ ให้ระบุเป็นข้อๆ สั้น กระชับ เปิดโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษา
  1.      มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้และบริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนในลักษณะ Lifelong Learning การจัดการศึกษาแบบไม่รับปริญญา และสามารถสะสมผลการเรียนไว้ในคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ดังนี้
         1. โครงการสัมฤทธิบัตร (ระดับปริญญาตรี) (ระดับบัณฑิตศึกษา) และ (โครงการสัมฤทธิบัตรสำหรับบุคคลภายนอก) โดยที่จะให้มานั่งเรียนในชั้นเรียนร่วมกับนิสิตปริญญาตรี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565
         2. หลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course Training) รูปแบบบริการวิชาการ
         3. หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree)
    1. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองคุณวุฒิ
      https://accreditation.ocsc.go.th/accreditation/search/curriculum 
    1. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรองคุณวุฒิ
      https://qualification.otepc.go.th/ 

งานประชุมวิชาการ

    1. การขอบรรจุหลักสูตรใหม่ไว้ในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2569)
    2. เสนอขอความเห็นชอบหลักสูตร
    3. เสนอการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
    4. การเปิดรายวิชาใหม่ 
    5. การปรับแผนการศึกษา
    6. การเสนอขออนุมัติกรณีต่างๆ
    1. สมอ. 08 ใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
      กรณี อาจารย์ลาปฏิบัติงานเกินกว่า 120 วัน
      กรณี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ลาศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้ โดยใช้ระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน ไม่ต้องทำ สมอ.08 การเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร แต่คณะ/วิทยาลัย จะต้องดำเนินการจัดทำหนังสือแจ้งระยะเวลาการลาศึกษาต่อดังกล่าวมายังงานพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา
    1. เสนอ สป.อว. รับทราบ กรณี เปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
      2. การเปิดรายวิชาใหม่ การปรับแผนการศึกษา และการเสนอขออนุมัติกรณีต่างๆ ไม่ต้องเสนอ สป.อว. รับทราบ
    1. เจ้าหน้าที่งานพัฒนาหลักสูตร โทร. 055968318, 055968307